หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
โรคมะเร็ง
แพ็กเกจการให้บริการ
บทความ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วีดีโอเรื่องโรคมะเร็ง
ค้นหาแพทย์
ဗမာစာ
Facebook
Youtube
Line
อาการเมื่อมะเร็งปากมดลูกลุกลามมากขึ้น
View Larger Image
อาการเมื่อมะเร็งปากมดลูกลุกลามมากขึ้น
ถ้ามะเร็งลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก (parametrium) จนถึงผนังด้านข้างของเชิงกราน (pelvic sidewall) จะไปกดเบียดอวัยวะที่ อยู่ระหว่างนั้น ได้แก่
ท่อไต เกิดอาการของทางเดินปัสสาวะอุดตันจนไตบวมน้ำ (hydronephrosis) และไตข้างนั้นหยุดทำงาน ถ้าไตหยุดทำงานทั้ง 2 ข้างจะมีอาการของภาวะไตวาย ได้ ภาวะไตบวมน้ำจะวินิจฉัยได้จากการทำ intravenous pyelogram (IVP) ซึ่งเป็นการสืบค้นเพื่อกำหนดระยะของมะเร็งปากมดลูก
หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ถ้าอุดตันผู้ป่วยจะมีอาการขาบวมและต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองข้างมดลูก (parametrial nodes) ซึ่งจะคลำได้จากการตรวจภายใน และการตรวจทางทวารหนัก
เส้นประสาทและกระดูก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดรุนแรงมากบริเวณหลัง ก้นกบ และต้นขา
ถ้ามะเร็งลุกลามไปทางด้านหน้าของปากมดลูกไปยังกระเพาะปัสสาวะอาจจะมีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอดตลอดเวลา ซึ่งจะพบในกรณีที่มะเร็งลุกลามทะลุจนเกิดรูรั่วระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด (vesicovaginal fistula) การลุกลามของมะเร็งไปยังกระเพาะปัสสาวะจะตรวจได้จากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy)ซึ่งเป็นการสืบค้นเพื่อกำหนดระยะของมะเร็งปากมดลูก
ถ้ามะเร็งลุกลามไปทางด้านหลังของปากมดลูกไปยังลำไส้ตรง (rectum) อาจจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระบ่อย ถ่ายลำบาก หรือท้องผูก เลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระออกทางช่องคลอดตลอดเวลา ซึ่งจะพบในกรณีที่มะเร็งลุกลามทะลุจนเกิดรูรั่ว ระหว่างลำไส้ตรงกับช่องคลอด (rectovaginal fistula) การลุกลามของมะเร็งไปที่ไส้ตรงจะตรวจได้จากการตรวจทางทวารหนัก (rectal examination) การส่องกล้องตรวจลำไส้ตรง (proctoscopy) และการสวนแบเรียม ตรวจทางรังสี (barium enema)
ถ้ามะเร็งลุกลามลงมาตามผนังช่องคลอดอาจมีเลือดออกหรือคลำได้ก้อนทางช่องคลอด
ถ้ามะเร็งลุกลามออกไปนอกเชิงกราน
การแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ปอด ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ อาจมีอาการไอแห้ง ๆ หรือไอเป็นเลือด ปอดเป็นอวัยวะนอกเชิงกรานที่มะเร็งปากมดลูกแพร่กระจายไปได้มากที่สุดโดยไปตามกระแสเลือด
การแพร่กระจายไปที่กระดูก ที่พบมากที่สุด คือ กระดูกสันหลังบริเวณเอวข้อที่ 5 (L5) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังรุนแรง
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายจะมีอาการซีด น้ำหนักลด ผอมแห้ง อ่อนเพลีย และมีอาการของภาวะไตวายหรือยูรีเมีย ( uremia )
ch9online
2021-12-22T00:19:42+00:00
5 ธันวาคม 2021
|
บทความ
|
แชร์และบอกต่อเพื่อนๆ ของคุณได้ที่นี่!
Facebook
Twitter
Linkedin
Reddit
Tumblr
Google+
Pinterest
Vk
Email
Related Posts
เรื่องล่าสุด
กินเนื้อสัตว์ เพิ่มเสี่ยงโรคมะเร็งจริงหรือ ?
กินอาหารค้างคืนที่อุ่นซ้ำ ทำให้เป็นโรคมะเร็งจริงหรือ ?
ทำไมต้องตรวจ พันธุกรรม ความเสี่ยงโรคมะเร็ง
น้ำตาล เป็นสาเหตุทำให้มะเร็งโตหรือไม่
บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ แล้วเสี่ยงเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ ?
หมวดหมู่
Uncategorized
กิจกรรม
บทความ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
มะเร็ง
มะเร็งตับและท่อน้ำดี
มะเร็งปอด
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งอื่นๆ
มะเร็งเต้านม
ยามะเร็งมุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัด
มะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งปอด
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งเต้านม
แพทย์เฉพาะทาง
นรีแพทย์มะเร็งวิทยา
รังสีแพทย์
ศัลยแพทย์
อายุรแพทย์ทางเดินอาหารและตับ
อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา
อายุรแพทย์โลหิตวิทยาและมะเร็งโลหิตวิทยา
แพทย์รังสีร่วมรักษา
โสต ศอ นาสิกแพทย์
โปรโมชั่นและบริการ